ฟรุกโตส (Fructose) คือน้ำตาลที่พบได้มากในผักและผลไม้ที่มีรสหวาน รวมไปถึงในน้ำผึ้ง นิยมนำมาใช้สำหรับผสมเครื่องดื่ม เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ที่มีรสหวาน โดยมีความแตกต่างจากน้ำตาลซูโครส ตรงที่ฟรุกโตสนั้นไม่ได้สร้างพลังงานให้กับกล้ามเนื้อและสมอง แต่จะถูกนำไปสะสมที่บริเวณตับโดยตรง หากรับประทานในปริมาณมากก็จะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้ และเนื่องจากน้ำตาลฟรุกโตส ไม่ได้ทำใหระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องดื่มลดน้ำตาลบางประเภท นำไปใช้เป็นส่วนผสมหลักเพื่อให้เกิดรสชาติหวาน เช่น น้ำหวาน ชาเขียว รวมไปถึงอาหารเสริมบางชนิด ซึ่งรสชาติที่ได้ก็จะมีความหวานอร่อย ในแบบเดียวกับน้ำตาลซูโครส
ผลไม้ที่ให้ฟรุกโตสสูง เทียบจากปริมาณ 100 กรัม
ผลไม้ที่มีปริมาณฟรุกโตสสูง เมื่อเทียบจากปริมาณของผลไม้ 100 กรัม มีดังต่อไปนี้
- กล้วยน้ำว้า
- ลิ้นจี่จักรพรรดิ์
- มะขามหวานสีทอง
- กล้วยไข่
- ลองกอง
- ลิ้นจี่ฮงฮวย
- น้อยหน่าฝรั่ง
- มังคุด
- แก้วมังกรเนื้อสีแดง
- กล้วยหอม
ฟรุกโตสไซรัป (Fructose Syrup)
ฟรุกโตสยังมีความสำคัญในการนำมาใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติหวานได้ในรูปแบบฟรุกโตสไซรัป หรือน้ำเชื่อมข้าวโพด ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายทั่วไปถึง 6 เท่า ซึ่งมักจะพบเห็นเป็นส่วนประกอบในอาหารหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นคุกกี้, ไอศกรีม, ขนมขบเคี้ยว, เครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งข้อดีของฟรุกโตสไซรัปที่แตกต่างจากน้ำตาลทรายทั่วไปก็คือ มีต้นทุนในการผลิตที่ถูกกว่า จัดเก็บและขนส่งง่ายกว่า อีกทั้งยังให้รสชาติความหวานที่ดีกว่า
การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของฟรุกโตสไซรัป ควรอยู่ในปริมาณที่พอเพียง เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อการทำงานของจับ และฮอร์โมนความอิ่มได้ ทำให้เกิดความอยากอาหารตลอดเวลา เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ร่างกายกินไม่อิ่ม กินเกินความต้องการ และกลายเป็นโรคอ้วนในเวลาต่อมาได้ โดยผลการวิจัยจากอเมริกาพบว่า การบริโภคน้ำเชื่อมฟรุกโตสในปริมาณมากๆ นั้น จะทำให้เกิดพิษในร่างกายและสามารถทำลายระบบการทำงานของลำไส้ได้ด้วย
ดังนั้น ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีฟรุกโตสไซรัป ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดผลกระทบจากโรคภัยหรือปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่อาจมาเยือน เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ก็อาจจะนำพาโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตมาเยือนตัวคุณได้
การรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
ในผลไม้ทั่วไปนั้น มีปริมาณฟรุกโตสอยู่เพียงแค่ 5% เท่านั้น ยกเว้นอาหารบางชนิด เช่น น้ำผึ้ง มะเดื่อฝรั่ง อินทผาลัม ที่ให้ปริมาณฟรุกโตสมากถึง 10% ดังนั้นการรับประทานผลไม้ที่มีฟรุกโตสจึงถือว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยต่อร่างกาย ให้คุณประโยชน์มากกว่าโทษ เพราะในผลไม้นั้นมีสารอาหารประเภทอื่นๆ ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น วิตามิน เกลือแร่ และกากใย
การรับประทานฟรุกโตสในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลฟรุกโตส เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งถือเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยเบาหวาน แม้ว่าฟรุกโตสนั้นไม่ได้มีผลโดยตรงที่ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน แต่ก็จะทำให้ผู้ที่รับประทานเกิดภาวะเสพติดความหวาน นำไปสู่โรคอ้วน ที่เป็นสาเหตุหลักของการดื้ออินซูลินได้ในภายหลัง นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายมีปริมาณของไตรกลีเซอไรด์หรือไขมันชนิดไม่ดีมากขึ้นด้วย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาวได้
ฟรุกโตส มาพร้อมผลเสียต่อสุขภาพหากรับประทานในปริมาณสูง เนื่องจากเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายมีปริมาณฟรุกโตสสูง เวลาที่หิว สมองก็ส่งสัญญาณให้รับทราบถึงภาวะความหิว ทำให้ร่างกายกินมากขึ้น โดยไม่รู้จักอิ่ม เพราะฟรุกโตสไม่สามารถย่อยได้ในลำไส้ได้ปกติ ร่างกายจึงนำไปเก็บเอาไว้ที่จับ น้ำตาลในกระแสเลือดจึงขึ้นได้ช้ามาก ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการกินอาหารมากขึ้น
แม้ว่าจะทำให้อาหารมีรสชาติอร่อยมากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องระวังเพราะยิ่งรับประทานก็จะยิ่งไม่อิ่ม ก่อให้เกิดภาวะกินเกินความจำเป็น นำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคเบาหวานนั่นเอง ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณฟรุกโตสอย่างพอเหมาะต่อร่างกาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงห่างไกลพิษภัยจากน้ำตาลฟรุกโตสได้